วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563

ครั้งที่ 3

 บันทึกอนุทินครั้งที่  3 
 วันจันทร์ ที่ 20 มกราคม  2563 
 เวลา 08.30 - 12.30 น. 




  ประโยชน์ของคณิตศาสตร์  
           เด็กสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ คณิตศาสตร์จะเด็กไปสู่ความเข้าใจสิ่งต่างๆรอบตัวสมองมีหน้าที่ซึมซับข้อมูลที่เรียนรู้ โดยผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเองผ่านการเล่น

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์


ทฤษฎีการเรียนรู้

1. การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2. การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
3. การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
4. แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
5. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
     1) ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
     2) ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
     3)ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
6. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
7. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)

   คำศัพภาษาอังกฤษ  

       1.Counting   การนับ
       2.Math  คณิตศาสตร์
       3.Example  ตัวอย่าง 
       4.Straight line  เส้นตรง
       5.Matching    การจับคู่



  การประเมิน 

             ประเมินอาจารย์   อาจารย์สอนเข้าใจง่ายมีการทบทวนเนื้อหาเดิม ตั้งคำถามได้ร่วใแสดงความคิดเห็น
             ประเมนตนเอง     ตั้งใจฟัง ร่วมตอบคำถามแสดงความคิดเห็น
             ประเมินเพื่อน      เพิ้อนตั้งใจเรียน ตอบคำถามกับอาจารย์ ถามเมื่อมีข้อสงสัย


วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563

ครั่งที่2

 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่   2 
 วันจันทร์ ที่  13 มกราคม พ.ศ.2563 
 เวลา 08.30 - 12.30 น. 

 เนื้อหาที่เรียน 
             
           วันนี้เป็นสัปดาห์ที่สองของการเรียนการสอน   เริ่มเรียนเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม คือการกอด การสัมผัส การพูดคุย การมอง การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ 
           ดังนั้น เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
           
           การเรียนรู้  คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ตัวอย่าง→ เด็กจับแปรงลบกระดานตอนแรกจับด้านที่เลอะ และผลออกมาว่ามือของเขาเลอะ ครั้งถดมาเขาจึงเปลี่ยนไปจับด้านที่เป็นด้านไม้ทำให้มือไม่เลอะ การกระทำเช่นนี้ คือ  ารเรียนรู้ 
                   แต่ถ้าหากครั้งถัดมาเด็กยังจับแปรงลบกระดานด้านที่เลอะเหมือนเดิม การกระทำเช่นนี้ คือ
 การรับรู้ 

            นิยามของพัฒนาการ    คือ ความสามารถของเด็กที่แสดงออกในแต่ละช่วงวัย
            มีลักษณะอย่างไร   เป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
            ดังนั้น ถ้ามีปฏิสัมพันธ์ที่ดีจะทำให้การพัฒนาในแต่ละระดับขั้นในแต่ละช่วงวัยมีคุณภาพมากขึ้น
      

 นิยามและลักษณะ ของพัฒนาการ    รู้เพื่อ...จะได้ไปจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กได้อย่างเหมาะสม
  
            การจัดประสบการณ์    คือ  การสร้างสรรค์กิจกรรมให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (เรียกว่า วิธีการ จะทำให้เกิดการเรียนรู้หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม) สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมและวัสดุ เด็กสามารถเลือก และตัดสินใจด้วยตนเองอย่างมีความสุข



 คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 
   
   1. developmentde        พัฒนาการ
   2. accommodation      การปรับและจัดระบบ
   3. recognition            การรับรู้  
   4. experience             การจัดประสบการณ์ 
   5. assimilation            การซึมซับ


 การประเมิน   
    
   ประเมินอาจารย์ อาจารย์สอนเข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างทุกครั้งเมื่อนักศึกษาไม่เข้าใจ ตั้งคำถาม          ให้ได้วิเคราะห์ คิดตาม และให้นักศึกษาได้พูดเกี่ยวกับความเข้าใจในสิ่งที่เรียนไปวันนี้
   ประเมินเพื่อน →  เพื่อนในห้องตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามของอาจารย์
   ประเมินตนเอง  ฟังที่อาจารย์พูดตอบคำถาม จดสรุปตามความเข้าใจของตัวเอง










วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563

ครั้งที่1




     บันทึกอนุทินครั้งที่ 1    
   วันจันทร์ที่ 6 มกราคม 2563   
    เวลา 08.30-12.30 น.  

 เนื้อหาที่เรียน 

            วันนี้เป็นวันเรียนวันแรกอาจารย์ได้อธิบายการทำบล็อกและมอบหมายงาน
ให้นักศึกษาไปคันคว้างานที่อาจารย์กำหนดโดยมีหัวข้อต่อไปนี้
- งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนและการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
   สำหรับเด็กปฐมวัย
-บทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- โทรทัศน์ครู

 คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 
1.Learning         การเรียนรู้
2.Thinking         การคิด
3.The analysis    การวิเคราะห์
4.The decision   การตัดสินใจ
5.Research         การวิจัย


 การประเมิน 
-ประเมินตนเอง เนื่องจากในช่วงเช้าได้ไปลงทะเบียนเพิ่มถอดวิชาเรียนทำให้ไม่ได้เข้าเรียน 
จึงสอบถามงานที่อาจารย์ได้มอบหมายกับเพื่อนๆ