วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563

  สรุปวิจัย  


     การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตรโดยใช้เกมการศึกษา 
                 ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านบางแก้ว

นางสาวนุจิรา เหล็กกล้า
บัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
ที่มา http://thesis.rru.ac.th/files/pdf/675_2018_11_07_125814.pdf?

บทนำ

    เกมการศึกษาเป็นกิจกรรม 1 ใน 6 กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้พัฒนาได้หลายๆ ด้านรวมทั้งช่วยในการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ โดยเฉพาะทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นองค์ประกอบ และรากฐานสาคัญของกระบวนการพัฒนาทางด้านสติปัญญา และเกมการศึกษาเป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เล่น มีการสังเกตดี ช่วยให้มองเห็นในสิ่งที่ควรได้เห็น ได้ฟังหรือคิดอย่างรวดเร็ว เกมการศึกษาต่างจากการเล่น อย่างอื่น เช่น การเล่นตุ๊กตา เครื่องเล่นสนาม หรือเกมทางพลศึกษาตรงที่ว่าแต่ละชุดมีวิธีเล่นโดยเฉพาะ ผู้เล่นสามารถตรวจสอบการเล่นว่าถูกต้องหรือไม่ได้ด้วยตนเองและยังเป็นผลพลอยได้ตามมาอีกหลายประการ เช่น ฝึกให้เด็กจัดภาพให้ขอบเสมอกัน วางเรียงกันเป็นชุดๆ ให้เป็นระเบียบ นอกจากช่วยให้เด็กทางาน เป็นระเบียบแล้วยังช่วยฝึกประสาทสัมผัสอีกด้วย ในการเล่นเด็กมักเล่นด้วยกันหลายคน เด็กเรียนรู้ การเล่นร่วมกัน เด็กต้องพยายามปรับตนให้เข้ากับเพื่อนกิจกรรมเช่นนี้ช่วยให้เด็กได้พัฒนาทั้งทางด้าน อารมณ์และสังคม



วัตถุประสงค์

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้
1 เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 ก่อนและหลัง การใช้เกมการศึกษา
2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ชั้นปีที่ 2 ที่มีต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐาน ทางด้านคณิตศาสตร์โดยใช้เกมการศึกษา

ขอบเขตตัวแปร
1) ตัวแปรต้น (independent variable) ได้แก่ การจัดกิจกรรมโดยใช้เกมการศึกษา 2) ตัวแปรตามได้แก่ (dependent variable) ได้แก่
(1) ทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จาแนกเป็น ก. ทักษะด้านการเรียงลาดับ
ข. ทักษะด้านการจาแนกจัดกลุ่ม
ค. ทักษะด้านการเปรียบเทียบ
ง. ทักษะด้านการนับและรู้ค่าของจานวนตัวเลข 1-20
จ. ทักษะด้านมิติสัมพันธ์
(2) ความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ โดยใช้เกม
การศึกษา

ประโยชน์ที่คําดว่สจะได้รับ
การวิจัยครั้งนี้ มีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับดังนี้
1 ช่วยสร้างแรงจูงใจให้เด็กเกิดความสนใจกระตือรือร้นในการเรียนรู้และเป็นไปตาม จุดประสงค์ของการเรียนที่กาหนด
2 ทาให้ได้นวัตกรรมเกมการศึกษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้าน คณิตศาสตร์
3 เป็นแนวทางสาหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในการประยุกต์ใช้เกมการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนทักษะพื้นฐานด้านอื่นๆ ต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น