วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2563

ครั้งที่ 9



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9
วันจันทร์ที่ 23มีนาคม 2563
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. 

เนื้อหาที่เรียน

           สัปดาห์นี้เป็นการเรียนออนไลน์ครั้งแรก อาจารย์สอนวิธีการเขียนแผนเพิ่มเติมจากที่สอนในห้องเรียน   และให้เขียนแผนเสริมประสบการณ์ประจำวันของ


*แผนการจัดประสบการณ์ กิจกรรมเสริมประสบการ ลักษณะของกล้วย*



วัตถุประสงค์ 
  •   เด็กสามารถเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของกล้วยหอและกล้วยไข่ได้


สาระการเรียนรู้คือ
  • เด็กได้รู้จักลักษณะของกล้วย เช่น รสชาติ สี ขนาด กลิ่น ส่วนประกอบ เป็นต้น     


ประสบการณ์ที่สำคัญ 
  • อ้างอิงจากหลักสูตรปฐมวัย 2560

กิจกรรมการเรียนรู้ 
           จะมี 3 ขั้น    
                   1.  ขั้นนำไปจะสู่การทำกิจกรรม ครูเเละเด็กต้องทำกิจกรรมก่อนที่จะลงมือทำจริง
กิจกรรมที่สามารถ นำมาบรูณาการได้ เช่น คำคล้องจอง เพลง นิทาน เกม เลือกให้เหมาะสมกับกิจกรรม
                    2.  ขั้นสอนเป็นขั้นที่ครูเเละเด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
                    3.  ขั้นสรุป เป็นขั้นที่ครูเเละเด็กทบทวนในสิ่งปฏิบัติไป

สื่อ/เเหล่งเรียนรู้ 
  • วัสดุอุปกรณ์ ที่เด็กสามารถมองเห็นได้ อาจะเป็นของจริง ภาพ ของเล่น ของจำลอง เป็นต้น


การวัดผลเเละการประเมินผล
  • เด็กได้เรียนรู้เเละพัฒนาตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้


การบรูณาการ 
  • เด็กไดเรียนรู้จากหน่วยกล้วยเข้ากับคณิตศาสตร์อย่างไร เช่น การนับจำนวน รูปร่างรูปทรง



  คำศัพย์ภาษาอังกฤษ 


1.Teaching media  สื่อการสอน
2.Integration     บูรณาการ
3.Toy             ของเล่น
4.experience      ประสบการณ์
5.Activity        กิจกรรม




  ประเมินอาจารย์  

            ประเมินอาจารย์ อาจารย์สอนในการจัดประสบการณ์ในเเต่ล่ะวันว่ามีวิธีการจัดอย่างไร

            ประเมินเพื่อน เพื่อนๆตั้งใจที่จะฟังเเละนำไปปรับเเก้

            ประเมินตนเอง ตั้งใจฟังเเละจดเพื่อนำไปแก้เเผนในวันของตนเองให้ถูกต้อง


วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563

   ตัวอย่างการสอน  


           การเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยบูรณาการผ่านหน่วย ผลไม้  ทักษะการเปรียบเทียบจากสื่อเเอปเปิ้ล เล็กและใหญ่

จัดทำโดย นางสาว ซูไรดา มะยากี

           เริ่มการสอนขั้นนำ นำด้วยเพลงผลไม้มีหลายชนิดเเละให้เด็กๆร้องพร้อมๆกัน พร้อมทั้งกิจกรรมเข้าจังหวะร้องเพลงผลไม้เเละทำท่าทางประกอบเสียงเพลงเพื่อเป็นการพัฒนาทางด้านกล้ามเนื้อด้วย    

          เมื่อเข้ากิจกกรมเเละจังหวะเสร็จ สื่อที่นำมาใช้ในการบรูณาการสอนคณิตหน่วยผลไม้ คือต้นต้นเเอปเปิ้ลที่ประดิษฐ์จากกระดาษเเละเศรษฐวัสดุจำนวนสองต้น พร้อมมีผลของเเอปเปิ้ลที่เเตกต่างกัน ทั้งสองต้น ครูให้เด็กได้มีส่วนรวมโดยการตั้งคำถามเเละให้เด็กตอบ ลักษณะของต้นไม้ที่มีความเเตกต่างกัน  ต้นเเรกเด็กตอบครู ว่ามีลักษณะที่เล็ก กว่าต้นที่สอง เเละครูนำผลของต้นต้นเเอปเปิ้ลทั้งสองให้เด็กได้สังเกต เด็กได้สังเกตเรียนรู้เเละเข้าใจมีสีเเละขนาดที่เเตกต่างกัน ต้นเเรกมีสีเขียวขนาดที่เล็กกว่าต้นที่สองที่มีสีเเดง พร้อมทั้งครูให้เด็กจำนวนของผลเเอปเปิ้ล เเละครูให้ตัวเเทนเด็กออกมาติดผลของแอปเปิ้ลในต้นของเเอปเปิ้ล ผลเล็กเด็กก็จะต้นต้นที่เล็ก ผลที่ใหญ่เด็กออกมาติดในต้นที่มีขนาดใหญ่ ขั้นสุดท้ายครูเเละนักเรียนสรุปและทบทวน ขนาดของต้นเเอปเปิ้ลต้นเเรกที่มีขนาดเล็กกว่าต้นแอปเปิ้ลต้นที่สอง สีที่เเตกต่างกันต้นเล็กมีผลสีเขียนส่วนต้นใหญ่มีผลสีเเดง 


: เด็กได้ทักษะการเปรียบเทียบเทียบการเเยกเเยะความเเตกต่างจากสื่อผลไม้






   สรุป บทความ    


              การเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ในเด็กปฐมวัย            



        จากการสำรวจระดับสติปัญญาเด็กไทยโดยกรมสุขภาพจิตพบว่า สถานการณ์ปัญหาระดับสติปัญญาเด็กไทย IQ ยังเป็นเรื่องที่น่าห่วงและจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จากผลการสำรวจระดับสติปัญญาในปี พ.ศ. 2554 พบว่าเด็กไทย มีค่าเฉลี่ย IQ เท่ากับ 98.59 (ค่าเฉลี่ยปกติ 90 – 109) ซึ่งถือว่าเป็นค่าระดับสติปัญญาที่อยู่ในเกณฑ์ปกติแต่ค่อนไปทางตํ่า ซึ่งสอดคล้องกับคะแนนการสอบประเมินผลนักเรียนนานาชาติ ในปี 2555 พบว่า เด็กไทยมีทักษะทางด้านการคิดและการใช้ภาษาอยู่ในเกณฑ์ตํ่า ดังเห็นได้จากผลสัมฤทธิ์การเรียนคณิตศาสตร์ การอ่านและวิทยาศาสตร์ มีคะแนนรวมอยู่ในอันดับที่ 50 จาก 65 ประเทศสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development – OECD) ขณะที่คะแนนความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เฉลี่ยในระดับประเทศก็ยังอยู่ในระดับตํ่ากว่าเกณฑ์ปกติคือ มีค่าคะแนนอยู่ที่ 45.12 จากค่าคะแนนปกติ 50-100
          ในการส่งเสริมและพัฒนา IQ EQ เด็กไทย จำเป็นต้องพัฒนาทักษะ 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านการคิด การใช้ภาษา และทักษะด้านอารมณ์ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับชีวิต โดยต้องเริ่มฝึกตั้งแต่วัยทารก การฝึกทักษะด้านการคิด ผู้ปกครองสามารถฝึกทักษะให้แก่เด็กด้วยกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (Pre-math skills) โดยผ่านการเล่น หรือกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่สนุกสนาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเลี้ยงดูเด็กโดยพ่อแม่หรือญาติพี่น้องส่วนทักษะทางคณิตศาสตร์ที่สูงขึ้นนั้นต้องอาศัยทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ในช่วงปฐมวัย เช่นเดียวกับบ้านที่ต้องการรากฐานที่แข็งแรงพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูจึงเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย ด้วยวิธีการสอนที่เป็นเรื่องใกล้ๆ ตัวใช้อุปกรณ์การสอนที่อยู่ในชีวิตประจำวัน
          หนังสือการเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ในเด็กปฐมวัยเล่มนี้ สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้นักวิชาการด้านการศึกษาและบุคลากรสาธารณสุข ผู้ปฏิบัติงานใช้เป็นแนวทางในการแนะนำส่งเสริมความรู้แก่ พ่อแม่ และผู้ดูแลเด็ก เพื่อนำความรู้ไปส่งเสริมทักษะพื้นฐานด้านการคิดในเชิงคณิตศาสตร์แก่บุตรหลานที่อยู่ในปฐมวัย พร้อมทั้งการพัฒนาชุดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมทักษะการอ่าน และทักษะด้านอารมณ์ ในเด็กปฐมวัย เพื่อการพัฒนาศักยภาพของสมองและการรู้คิดของเด็กไทยในการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์
สถาบันราชานุกูล




  สรุปวิจัย  


     การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตรโดยใช้เกมการศึกษา 
                 ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านบางแก้ว

นางสาวนุจิรา เหล็กกล้า
บัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
ที่มา http://thesis.rru.ac.th/files/pdf/675_2018_11_07_125814.pdf?

บทนำ

    เกมการศึกษาเป็นกิจกรรม 1 ใน 6 กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้พัฒนาได้หลายๆ ด้านรวมทั้งช่วยในการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ โดยเฉพาะทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นองค์ประกอบ และรากฐานสาคัญของกระบวนการพัฒนาทางด้านสติปัญญา และเกมการศึกษาเป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เล่น มีการสังเกตดี ช่วยให้มองเห็นในสิ่งที่ควรได้เห็น ได้ฟังหรือคิดอย่างรวดเร็ว เกมการศึกษาต่างจากการเล่น อย่างอื่น เช่น การเล่นตุ๊กตา เครื่องเล่นสนาม หรือเกมทางพลศึกษาตรงที่ว่าแต่ละชุดมีวิธีเล่นโดยเฉพาะ ผู้เล่นสามารถตรวจสอบการเล่นว่าถูกต้องหรือไม่ได้ด้วยตนเองและยังเป็นผลพลอยได้ตามมาอีกหลายประการ เช่น ฝึกให้เด็กจัดภาพให้ขอบเสมอกัน วางเรียงกันเป็นชุดๆ ให้เป็นระเบียบ นอกจากช่วยให้เด็กทางาน เป็นระเบียบแล้วยังช่วยฝึกประสาทสัมผัสอีกด้วย ในการเล่นเด็กมักเล่นด้วยกันหลายคน เด็กเรียนรู้ การเล่นร่วมกัน เด็กต้องพยายามปรับตนให้เข้ากับเพื่อนกิจกรรมเช่นนี้ช่วยให้เด็กได้พัฒนาทั้งทางด้าน อารมณ์และสังคม



วัตถุประสงค์

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้
1 เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 ก่อนและหลัง การใช้เกมการศึกษา
2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ชั้นปีที่ 2 ที่มีต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐาน ทางด้านคณิตศาสตร์โดยใช้เกมการศึกษา

ขอบเขตตัวแปร
1) ตัวแปรต้น (independent variable) ได้แก่ การจัดกิจกรรมโดยใช้เกมการศึกษา 2) ตัวแปรตามได้แก่ (dependent variable) ได้แก่
(1) ทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จาแนกเป็น ก. ทักษะด้านการเรียงลาดับ
ข. ทักษะด้านการจาแนกจัดกลุ่ม
ค. ทักษะด้านการเปรียบเทียบ
ง. ทักษะด้านการนับและรู้ค่าของจานวนตัวเลข 1-20
จ. ทักษะด้านมิติสัมพันธ์
(2) ความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ โดยใช้เกม
การศึกษา

ประโยชน์ที่คําดว่สจะได้รับ
การวิจัยครั้งนี้ มีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับดังนี้
1 ช่วยสร้างแรงจูงใจให้เด็กเกิดความสนใจกระตือรือร้นในการเรียนรู้และเป็นไปตาม จุดประสงค์ของการเรียนที่กาหนด
2 ทาให้ได้นวัตกรรมเกมการศึกษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้าน คณิตศาสตร์
3 เป็นแนวทางสาหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในการประยุกต์ใช้เกมการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนทักษะพื้นฐานด้านอื่นๆ ต่อไป


วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563

ครั้งที่ 8



บันทึกอนุทินครั้งที่ 8 
วันจันทร์ ที่ 9 มีนาคม 2563
เวลาเรียน 08.30 -12.30 น.


            เรียนเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้จากสัปดาห์ที่เเล้วนำมา บูรณาการกับสาระคณิตศาสตร์กับหน่วยการเรียนรู้โดยผ่าน 6 กิจกรรมหลักเเละใน 6 กิจกรรมหลังจะต้องจัดการเรียนการสอนทั้ง 5 วัน เเต่ละวันจะสอนเพียง 30 นาที เเละจะต้องมี 
- เนื้อหา 
- สาระทางคณิตศาสตร์
- การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์

           หลังจากนั้นให้แต่ละคนทำมายแมพ วันของตัวเอง ของดิฉันทำวันอังคาร เรื่องลักษณะของกล้วย








  คำศัพย์ภาษาอังกฤษ 
        
          1.Banana กล้วย
          2.Compare เปรียบเทียบ
          3.Chart ตาราง
          4.Assessment  การประเมิน
          5.Shape  รูปร่าง

  ประเมินอาจารย์  
ประเมินอาจารย์ อาจารย์อธิบายให้ศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณาการเเละเปิดโอกาศให้ถาม อาจารย์ อธิบาย เกี่ยวกับการทำมายเเมบให้อย่างเข้าใจ ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจทำงานอย่างดี เพื่อเขียนเเมบอย่างถูกวิธี ประเมินตนเอง พยายามทำความเข้าใจและทำงานอย่างตั้งใจ


วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2563

ครั้งที 7


บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563
วันเวลา 08.30-12.30 น.



           กิจกรรมวันนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ซึ้งอาจารย์ให้ออกแบบ หน่วยการเรียนรู้ของตัวเองในหน่วยต่างๆเป็นการบรูณาการในางคคณิตเข้าดด้วยกัน   อาจารย์ยกตัวอย่างหน่วยไข่ เเละให้เเยกองค์กอบเป็นผังความรู้ และหลังจากได้เลือกหน่วยการเรียนรู้อาจารย์ให้เเบ่งกลุ่มเเบ่งเป็นกลุ่ม 3 คนเพื่อช่วยกันคิดหน่วยการเรียนรู้เเตกเป็นหัวข้อต่างๆ ซึ้ง หน่วยการเรียนรู้ของกลุ่มดิฉันได้เลือกหน่วย  มด  ก็จะเเตกเป็นไปตามหัวข้อ ดั้งนี้ 






   หน่วย"มด"  

สายพันธ์ ของมด   

       มดดำ
       มดแดง
       มดคันไฟ
       มดช่างไม้


ลักษณะของมด 

       สี
       ส่วนประกอบ
       ขนาด
       รูปร่าง


การดำรงชีวิตของมด

       น้ำ
       แสงแดง
       อาหาร
       ที่อยู่อาศัย
       วงจรชิวิต


 ประโยชน์ของมด

       สร้างอาชีพ
       ช่วยกำจัดศรัตรูพืช
       นำอาหารมาให้ต้นไม้


โทษของมด

       หากโดนกัดจะมีอาการแสบกัน
       ทำให้เสี่ยงต่อท้องร่วง
       ทำให้อาหารเสียเร็ว







           หลังจากนั้นให้จับกลุ่ม 5 คนเพื่อให้ครบ 5วัน และเลือกหน่วยใหม่ กลุ่มฉันเลือกหน่วยกล้วย

   หน่วย กล้วย   

วันจันทร์       -ชนิดของกล้วย

วันอังคาร      -ลักษณะของกล้วย

วันพุธ           -การดูแรักษา

วันพฤหัสบดี -ประโยชน์ 

วันศุกร์          -โทษ







  คำศัพย์ภาษาอังกฤษ 

        1.Benefit       ประโยนช์
    2.Blame         โทษ
    3.Day           วัน 
    4.Learning unit หน่วยการเรียนรู้
    5.Attendance    การดูรักษา



    
  การประเมิน  
ประเมินอาจารย์. อาจารย์ตั้งใจสอนเเละอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจเเละให้นักศึกษาโต้ตอบ ประเมินเพื่อน. เพื่อนตั้งใจฟังพร้อมมีส่วนร่วมในการตอบอย่างดี ประเมินตนเอง. ตั้งใจฟังเเละจดกับเนื้อหาสำคัญเพื่อทบทวนได้